ประวัติ


             ขันลงหิน หรือเครื่องทองลงหิน เป็นงานฝีมือของช่างโลหะสำริดไทยที่ผลิตขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งนี้สำริด หายถึงโลหะผสมที่มีทองแดงเป็นองค์ประกอบหลัก และมีดีบุกเป็นองค์ประกอบรอง ที่ช่างโลหะผสมเขาไปในทองแดงประมาณร้อยละ 10-20 ของส่วนผสมทั้งหมด ส่วนเนื้อโลหะสำริดที่เรียกว่าทอง ที่ใช้ทำขันลงหิน ก็คือโลหะสำริดชนิดที่มีดีบุกผสมในปริมาณสูงกว่าร้อยละ 20 ของส่วนผสมทั้งหมด ปัจจุบัน แหล่งผลิตขันลงหินหรือเครื่องทองลงหินเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในกรุงเทพฯ คือที่บ้านผลิตขันลงหิน “เจียม แสงสัจจา” ตั้งอยู่ในพื้นที่ บ้านบุ เขตบางกอกน้อย บ้านบุ ตั้งอยู่บริเวณริมคลองบากอกน้อยฝั่งใต้ หลังสถานีรถไฟธนบุรี ยาวขนานไปกับลำคลอง ประมาณ 800เมตร จนถึงบริเวณวัดสุวรรณราม บ้านบุเป็นย่านที่ทำขันลงหินหรือขันบุมาแต่โบราณ ในสมัยรัชการที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา โดยบรรพบุรุษของชาวบ้านบุเป็นชาวกรุงศรีอยุธยา ที่อพยพมาหลังจากเสียกรุงเมื่อ พ.ศ.2310 คำว่า “บุ” หมายถึงการตีให้เข้ารูป ใช้กับงานโลหะ การทำขันบุของชาวบ้านบุให้ทองสัมฤทธิ์ คือการนำโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก เป็นวัตถุดิบในการผลิต หรือที่เรียกว่า “เครื่องสมฤทธิ์” การนำทองสัมฤทธิ์มาตีแผ่นขึ้นรูปเป็นภาชนะ ในงานช่างเรียกว่าการบุ ดังนั้นจึงเรียกภาชนะดังกล่าวว่า “เครื่องบุ” และเนื่องจากขั้นตอนการขัด ใช้หินเป็นก้อนขัดภาชนะจนขึ้นเงาจึงเรียกว่า “เครื่องทองลงหิน”

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น