ขั้นตอนการทำ

ขั้นตอนการทำเครื่องทองลงหิน มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน



ขั้นตอนที่ 1การหลอมและการตี การตีเริ่มต้นโดยการตีแผ่ ทำเพื่อแผ่แผ่นทองให้ได้ขนาดเส้นผ้าศูนย์กลางตามต้องการ โดยช่างนำแผ่นทองมาซ้อนกันครั้งละ 4-5 แผ่น แล้วแต่ขนาดของแผ่นทอง แล้วใช้คีมคีบให้แน่น จากนั้นจึงค่อยๆ ตีจากบริเวณตอนกลางของแผ่นทองไล่ออกไปยังขอบ โดยต้องเผาไฟสลับกับการตีไปเรื่อยๆ


 ขั้นตอนที่ 2 การลาย เป็นการตกแต่งเพื่อเก็บรอยค้อนต่อจากการตีขึ้นรูป และแต่งเนื้อของภาชนะให้เรียบตึงไม่แห้ง หรือมีเนื้อหย่อน ไม่เป็นรูปทรงชัดเจนโดยเมื่อลายแล้วต้องได้รอยเป็นลักษณะแบบเมล็ดข้าวเม่า 


ขั้นตอนที่ 3 การกลึง เป็นการขัดเอาผิวภาชนะออกเพื่อให้เห็นสีทองของเนื้อสำริด ซึ่งการเอาสีดำที่ผิวภาชนะออกนี้จะขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า หรือผู้สั่งทำด้วย การกลึงเริ่มจากเอาภาชนะไปวางบนเตาไฟ จนร้อน เอาชันที่เคียวจนขน มาทาที่ก้นภาชนะแล้วเอาไปติดกับภมร


 ขั้นตอนที่ 4 การกรอ คือ ช่างจะนำตะไบมากรอ หรือถู ขอบปากภาชนะให้เรียบเสมอกัน แต่เดิมเรียกขั้นตอนนี้ว่า “ขึ้นตะไบ” เนื่องจากช่างจะใช้ตะไบเป็นเครื่องมือในการตกแต่ง แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้เครื่องกรอไฟฟ้าตกแต่งแทน โดยในการกรอนั้น ช่างจะนำน้ำใส่กะละมังไปรองไว้ใต้หินขัดนำปากภาชนะที่ช่างลายกันไว้ให้ไปกรอกับหินขัดที่ติดมอเตอร์ไฟฟ้าและตั้งหมั่นสังเกตว่าขอบปากภาชนะเรียบเสมอกันหรือไม่ 


ขั้นตอนที่ 5 การเจียร ในสมัยโบราณไม่มีขั้นตอนนี้ แต่ปัจจุบันได้นำเครื่องเจียรไฟฟ้ามาแต่งรอยตำหนิต่างๆ บนภาชนะ ด้วยการเก็บเม็ด ซึ่งหมายถึงการตกแต่งผิวภาชนะให้เรียบ โดยใช้แผ่นเจียรโลหะเนื้อหยาบ เพื่อเก็บริ้วรอยต่างๆ บนภาชนะ


 ขั้นตอนที่ 6 การขัด เป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อให้เกิดความมันวาว ปัจจุบันการขัดเงาเริ่มจากการใช้ลูกทรายติดมอเตอร์ขัดเงาก่อน ซึ่งขั้นตอนนี้ช่างต้องหมุนภาชนะไปตามมอเตอร์และต้องระมัดระวังมาก เพราะลูกทรายมีความคม


สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น